SINGER ไตรมาสแรก พลิกขาดทุน 885 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปีหุ้นร่วง 52%

TRUE ไตรมาส 1/66 ขาดทุน 492 ล้านบาท รายได้มือถือ-ออนไลน์หดตัว

BCP ไตรมาสแรก กำไรวูบ 37% เหลือ 2,741 ล้านบาท ขาดทุนสต็อกน้ำมัน-ต้นทุนพุ่ง

MTC โชว์ไตรมาส 1/66 กำไร 1,070 ล้านบาท ลดลง 22.18% ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น

บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานผลดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 843 ล้านบาท ปรับลดลง 492% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้รวม 885 ล้านบาท ปรับลดลง 26.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของรายได้จากการขาย

โดยรายได้จากการขาย อยู่ที่ 203 ล้านบาท ลดลง 70.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากบริษัทย่อยเปลี่ยนแปลงนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น และพนักงานขายแฟรนไชส์ลดลง

ขณะที่ดอกเบี้ยรับจากสัญญาเช่าซื้อและเงินให้กู้ยืม เท่ากับ 641 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้บริษัทมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 952 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,663% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากลูกหนี้ที่เข้าโครงการให้ความช่วยเหลือจากการได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เริ่มทยอยสิ้นสุดการได้รับความช่วยเหลือคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 SINGER ไตรมาสแรก พลิกขาดทุน 885 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปีหุ้นร่วง 52%

ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 24,377 ล้านบาท ลดลง 5.9% ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่ลดลงและมีหนี้สินรวม 7,309 ล้านบาท ลดลง 3.9%

ล่าสุดหุ้น SINGER ปิดตลาดเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2566 ราคาอยู่ที่ 13.80 บาทต่อหุ้น นับตั้งแต่ต้นปี 2566 มูลค่าปรับลดลงมาราว 52% (YTD) โดยก่อนหน้านี้ หุ้น SINGER เคยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 59.25 บาท เมื่อเดือน เม.น. 2565 ปีที่ผ่านมา ก่อนมูลค่าจะปรับลดลงมาตลอดจนถึงปัจจุบันราว 76%

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ เคยระบุในบทวิเคราะห์ ว่า SINGER กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้เสีย (NPL) ก้อนใหญ่จากธุรกิจสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดำเนินการจากบริษัทลูก (SGC) ซึ่งการลาออกของซีอีโอคนเก่า (มีผล 9 พ.ค.66) เป็นสัญญาณลบต่อแนวโน้มผลประกอบการในระยะสั้น และทำให้เกิดความกังวลต่อเนวโน้มการเติบโตในระยะยาว เนื่องจากซีอีโอคนเก่ารายนี้เป็นผู้ที่นำพา SINGER พลิกฟื้นสถานการณ์จากขาดทุนเป็นฟื้นตัว

ทั้งนี้การเปลี่ยนตัวผู้บริหารรอบล่าสุด อาจเป็นสิ่งบ่งบอกว่าธุรกิจในอนาคตของ SINGER จะเน้นไปที่สินค้าไอที (IT) จาก J-Mobile ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สินค้าจะกระจุกตัว และความเสี่ยงด้านการตั้งสำรอง เพราะการปล่อยกู้เพื่อซื้อสินค้าไอที มีอัตราการผิดนัดชำระหนี้สูง ซึ่ง บล.เคจีไอ มองว่า SINGER จะต้องใช้เวลาสักระยะในการล้างงบดุล