ข้าวต้มมัดเป็นหนึ่งในขนมที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ไม่ว่าเทศกาลไหน ๆ ก็มักจะเห็น ข้าวต้มมัด เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในเทศกาลหรือประเพณีอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นขนมที่ทานง่าย และสามารถทำทานเองได้ วิธีการน้อย เพียงนำข้าวเหนียวไปผัดกับกะทิ ปรุงรส แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือ ใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ถ้าบ้านไหนมีงานบุญต้องไม่พลาดที่จะมีเมนูขนมข้าวต้มมัดอยู่ในบ้านแน่นอน เช่นเดียวกับบ้านคนไทยเชื้อสายจีนที่ต้องมีขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งล้วนเป็นตัวกลางสะท้อนให้เห็นถึงขนบประเพณีความเชื่อของคนไทยทั้งสิ้นคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
ทำไม "ข้าวต้มมัด" ต้องถูกมัดเป็นคู่
ข้าวต้มมัด ถูกยกให้เป็นขนมสัญลักษณ์ของคนที่มีคู่ เนื่องจากลักษณะของข้าวต้มมัดเป็นการนำขนม 2 ชิ้น มาประกบมัดคู่กัน โดยโบราณเชื่อกันว่า ถ้าหนุ่มสาวได้ทำบุญใน วันเข้าพรรษาด้วยข้าวต้มมัด จะทำให้ความรักดี ชีวิตคู่ครองจะคงอยู่นานตลอดกาล เหมือนกับข้าวต้มมัดที่ถูกผูกติดกัน เราจึงมักจะเห็นรุ่นคุณแม่ คุณยาย นิยมทำข้าวต้มมัดไปถวายพระในวันเข้าพรรษา เมื่อถึงเทศกาลออกพรรษาที่มีการตักบาตรเทโว ข้าวตัมมัดก็จัดเป็นเครื่องไทยทานถวายพระได้อีกด้วย ซึ่งในวันมงคลอย่างวันแต่งงาน ข้าวต้มมัด ก็เป็นขนมมงคลที่เสริมสิริมงคลให้ชีวิตคู่เพื่อให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวเป็นคู่รักที่ยั่งยืนตลอดนานอยู่กันเป็นคู่เหมือนข้าวต้มมัด
ความเชื่อเรื่อง ตำนานความรัก "ข้าวต้มมัด"
ข้าวต้มมัด เป็นข้าวต้มที่พระอินทร์กับนางสนมกินด้วยกันเมื่อตอนมีความรักให้กัน แต่ต่อมาพระอินทร์เกิดจับได้ว่านางสนมมีชู้ จึงโกรธและดลบันดาลให้ลูกของนางสนมที่เกิดกับชู้ คลอดออกมาเป็นข้าวต้มมัด เมื่อถึงเวลาที่นางสนมคลอดบุตรอกมา ก็กลายเป็นข้าวต้มมัดจริง ๆ นางสนมก็เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ลูกแท้ ๆ ของตัวเอง เลยนำลงมาทิ้งไว้ที่ป่าในโลกมนุษย์ ตา-ยายคู่หนึ่งเดินเข้ามาในป่าก็มาเจอข้าวต้มมัดที่นางสนมมาทิ้งไว้ ลองแกะชิมดูแล้วว่าอร่อย ก็เลยลองทำตาม จากนั้นจึงนำมาขายจนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้
ไม่ได้มีแต่ภาษาไทยที่ดิ้นได้ เพราะแม้แต่ข้าวต้มมัดเองก็ยังถูกพลิกแพลง ด้วยความสามารถของช่างขนมหวานไทย ได้มีการดัดแปลงข้าวต้มมัดจากแบบดั้งเดิม มาเพิ่มนิดผสมหน่อยตามสไตล์จุดเด่นของแต่ละพื้นที่ซึ่งก็กลายเป็นที่มาของความโดนเด่นของ "ข้าวต้มมัด" ในแต่ละภาค
ข้าวต้มมัดไต้ หรือ ขนมมัดไต้ เป็นชื่อเรียกข้าวต้มมัดของคนภาคใต้ มีเอกลักษณ์โดดเด่นก็คือ การนำข้าวเหนียวไปห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ มัดเป็นปล้อง ๆ 4-5 ปล้อง ซึ่งมีขนาดยาวกว่าข้าวต้มมัดทั่วไป ไม่มีไส้ มีรสชาติเค็มที่ทำมาจากส่วน ผสมถั่วทองโขลกกับเครื่อง เช่น รากผักชี กระเทียม และพริกไทย แถมยังใส่หมูและมันหมูลงไปด้วย และยังแยกออกไปอีกด้วยว่า ถ้าห่อด้วยใบกะพ้อ เรียก “ห่อต้ม” แต่ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าวและมัดด้วยเชือกเรียกว่า “ห่อมัด” ข้าวต้มกล้วย เป็นชื่อเรียกข้าวต้มมัดของคนภาคอีสาน มี 2 แบบด้วยกันคือ ใช้ข้าวเหนียวดิบปรุงรสด้วยเกลือ ใส่ถั่วลิสงต้มสุก เคล้าให้เข้ากัน นำไปห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย แล้วเอาไปต้มให้สุก ส่วนแบบที่ 2 คือ แบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิ นำไปห่อใส่ไส้กล้วยแล้วต้มให้สุก จะไม่ใส่น้ำตาลลงไปในส่วนผสม แต่จะใช้วิธีนำมาจิ้มกินกับน้ำตาลแทน ข้าวต้มหัวหงอก ของคนภาคเหนือ จะนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้น ๆ คลุกกับมะพร้าวขูด แล้วโรยน้ำตาลทราย ข้าวต้มญวน มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่ห่อให้ใหญ่กว่า นำไปต้ม เวลากินให้หั่นเป็นชิ้น ๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม
อย่างไรก็ตาม แม้ข้าวต้มมัดจะเป็นสัญลักษณ์ที่ดีแก่การทำบุญถวายพระ หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการขอพรความรัก แต่แนะนำให้บริโภคแต่พอดี เนื่องจากข้าวต้มมัดมีส่วนผสมของกะทิซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลจำนวนมาก บอาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกัน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต ได้